-
งานประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติ ครั้งที่ 8
The 8th RMU National Graduate Research Conference
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันทั่วโลกต่างอยู่ในสภาวะของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการบริหารและการพัฒนาประเทศด้วยเช่นกัน อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การบริหารจัดการ และการพัฒนาประเทศเกิดความไม่แน่นอน และไม่ชัดเจน ขาดประสิทธิภาพ ทำให้เข้าสู่กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วได้ช้าลง ดังนั้นการเรียนรู้การพัฒนาวิชาการให้เท่าเทียมนานาชาติ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการนี้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้จัดการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 6 มีความประสงค์ให้ นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากร และนักวิชาการที่มีผลงานวิจัย/วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงภาคประชาสังคม ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการวิจัย มีการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการวิจัยในสาขาต่าง ๆ โดยเป็นการประสานงานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดเป็นเวทีวิชาการระดับชาติ ที่รวบรวมผลงานด้านการวิจัยอันทรงคุณค่า มุ่งเน้นให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากงานวิจัยในวงกว้าง รวมถึงเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ทางวิชาการ วิจัย และการบริการวิชาการ เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม โดยรวบรวมองค์ความรู้ที่มีคุณค่าจากการแลกเปลี่ยนทัศนะ ประสบการณ์ สร้างเครือข่าย ความเข้มแข็งทางวิชาการและงานวิจัย เพื่อตอบโจทย์ให้กับการแก้ไขปัญหาในสังคมต่าง ๆ โดยใช้มหาวิทยาลัยเป็นที่พึ่งพาของสังคมอย่างยั่งยืน และเป็นฐานในการคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป รายละเอียดโครงการ คลิกดาวน์โหลด
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
โทร. 086-219-7717 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชราภรณ์ พิมพ์จันทร์ (รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ฝ่ายวิชาการ)กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากร และนักวิชาการที่มีผลงานวิจัย / วิทยานิพนธ์ / การค้นคว้าอิสระ
วัตถุประสงค์
- 1. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ผลการวิจัยที่นำไปใช้ในพื้นที่หรือชุมชน และผลงานวิจัย/วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและนักวิชาการ จากทั่วประเทศ
- 2. เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้มีการเสวนา เพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เผยแพร่ความรู้ความก้าวหน้าและวิทยาการใหม่ๆ ในกลุ่มหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
- 3. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมเกิดความสัมพันธ์อันดี มีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชการระหว่าง นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากร และนักวิชการ ทางการศึกษาของมหาวิทยาลัย/สถานบันอุดมศึกษาต่างๆ
- 4. เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ
รายละเอียด สำหรับผู้นำเสนอ
นำเสนอภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation) นำเสนอภาคบรรยาย (Oral Presentation) รูปแบบโปสเตอร์
1. กำหนดโปสเตอร์ขนาด 80 x 110 ซม. จำนวน 1 แผ่น ต่อ 1 เรื่อง
โดยจัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
ขนาดอักษรควรมีขนาดเพียงพอที่จะอ่านได้ในระยะห่าง 1 เมตร
2. เนื้อหาในโปสเตอร์ประกอบด้วย
2.1 ชื่อเรื่อง มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ(ตามผลงานที่กำหนด)
2.2 ชื่อผู้ทำวิจัย และหน่วยงานที่สังกัด
2.3 บทคัดย่อ
2.4 บทนำ
2.5 วิธีการวิจัย
2.6 ผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย
2.7 สรุปผลการวิจัย
2.8 เอกสารอ้างอิง เลือกเฉพาะที่เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้น
3. การติดตั้งโปสเตอร์ได้ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2567 เวลาตั้งแต่ 12.00 น.เป็นต้นไป
4. ผู้นำเสนอจะต้องจัดเตรียม Poster มาเองโดยผู้จัดงานได้เตรียมบอร์ดสำหรับติดไว้ให้
5. ผู้นำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ต้องอยู่ประจำโปสเตอร์ในช่วงเวลาที่กำหนดตามกำหนดการ
***ผู้วิจัยที่นำเสนอภาคโปสเตอร์ บัณฑิตวิทยาลัยจัดทำแผ่นโปสเตอร์และติดตั้งให้รูปแบบนำเสนอบรรยาย
1. เวลาการนำเสนอ 15 นาที เวลาซักถาม 5 นาที รวม 20 นาที
2. นำเสนอไปแล้ว 10 นาที ผู้ดำเนินรายการจะกดกริ่ง สั้น 1 ครั้งเมื่อหมดเวลา 15 นาที
ผู้ดำเนินการจะกดกริ่งยาว 1 ครั้ง ขอให้ผู้นำเสนอหยุดการนำเสนอ และเตรียมตัวตอบคำถาม
3. ผลงานที่นำเสนอ ต้องจัดทำเป็น MS Power Point เท่านั้น
4. นักวิจัยต้องนำไฟล์ที่นำเสนอมาบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ ในห้องประชุมที่จะนำเสนอ
เวลา 12.30 - 12.50 น.
5. ให้ผู้นำเสนอกรุณารักษาเวลาเพื่อให้การนำเสนอเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
เมนูดำเนินการส่งบทความ
กลุ่มสาขาผลงานวิจัยที่เปิดรับบทความ
เปิดรับบทความเพื่อนำเสนอใน 4 กลุ่มหัวข้อ ทั้งในรูปแบบการนำเสนอแบบบรรยาย(Oral Presentation) และ โปสเตอร์ (Poster Presentation)
* หมายเหตุ : ผลการพิจารณาตอบรับบทความ / บทคัดย่อของคณะกรรมการคัดเลือกบทความถือเป็นที่สิ้นสุดกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Science & Technologyกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Humanity & Social Scienceอัตราค่าลงทะเบียน
ท่านสามารถส่งบทความพร้อมทั้งลงทะเบียนได้ตามอัตราค่าลงทะเบียนที่แสดงให้เห็นด้านล่าง หลังจากท่านชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว กรุณาแจ้งฝ่ายจัดงานบัญชีเลขที่ : 409-1-63904-6
ชื่อบัญชี : เงินค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
นำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยาย
(Oral Presentation)2,800 บาท
ต่อเรื่อง
- ไฟล์เล่มรวมบทคัดย่อ 1 เล่ม
- ไฟล์รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Online)
- ไฟล์เกียรติบัตร
นำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์
(Poster Presentation)3,800 บาท
ต่อเรื่อง
(รวมค่าจัดทำโปสเตอร์ 1,000 บาท แล้ว)- ไฟล์เล่มรวมบทคัดย่อ 1 เล่ม
- ไฟล์รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Online)
- ไฟล์เกียรติบัตร
เข้ารับฟังการบรรยาย
อาจารย์/นิสิต/นักศึกษา
สถาบันการศึกษาอื่น และผู้สนใจทั่วไป1,000 บาท
ต่อคน
- ไฟล์เล่มรวมบทคัดย่อ 1 เล่ม
- ไฟล์รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Online)
- ไฟล์เกียรติบัตร
การเตรียมผลงานและต้นแบบบทความ
รูปแบบบทความวิจัย ให้เป็นไปตามรูปแบบต้นแบบบทความ (Template) โดยมีความยาวของบทความไม่เกิน 11 หน้า รวมตาราง รูปภาพ และเอกสารอ้างอิง สามารถดาวน์โหลดต้นแบบที่ปุ่ม "ดาวน์โหลด Template"
คณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการ RMU NGRC 8th
ที่ปรึกษา 1. อาจารย์ ดร.เนตรชนก จันทร์สว่าง รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนกวรรณ ศรีวาปี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 3. อาจารย์ ดร.ศิวดล กัญญาคำ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กรรณิการ์ ทองดอนเปรียง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 5. อาจารย์ ดร.วีระพน ภานุรักษ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
กองบรรณาธิการกองบรรณาธิการบุคคลภายนอก
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ที่อยู่มหาวิทยาลัยอื่นในประเทศไทย1. ศาสตราจารย์ ดร.ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ข้าราชการบํานาญ 2. ศาสตราจารย์ ดร.บรรพต สุวรรณประเสริฐ สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา ข้าราชการบํานาญ 3. ศาสตราจารย์ ดร.สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 4. ศาสตราจารย์ ดร.สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 5. ศาสตราจารย์ ดร.ละออศรี เสนาะเมือง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6. ศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ ประจัญบาน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 7. ศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 8. ศาสตราจารย์ ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ9. ศาสตราจารย์ ดร.บุญทัน ดอกไธสง สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ข้าราชการบํานาญ 10. ศาสตราจารย์ ดร.กนกอร สมปราชญ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 11. รองศาสตราจารย์ ดร.ราณี อิสิชัยกุล สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 12. รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ อิงอาจ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง 13. รองศาสตราจารย์.ดร.รังสรรค์ โฉมยา ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 14. รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์เทพ วิทิตอนันต์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง 15. รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย จันทร์จรัส สาขาเศรษฐศาสตร์การเงิน คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น16. รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิพล อาจอินทร์ หลักสูตรและการเรียนการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์ สาขาวิชาดุริยางคศิลป์สากล คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒกองบรรณาธิการบุคคลภายใน
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม1. รองศาสตราจารย์ ว่าที่ พ.ต.ดร.กิตติกรณ์ บำรุงบุญ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2. อาจารย์ ดร.ภาณุวัตร รื่นเรืองฤทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาคร คัยนันทน์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ 4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรัช อารีราษฎร์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ 5. อาจารย์ ดร.เนตรชนก จันทร์สว่าง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6. อาจารย์ ดร.กริช สินธุศิริ คณบดีคณะนิติศาสตร์ 7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิศารัตน์ โชติเชย คณบดีคณะวิทยาการจัดการ 8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันทนีย์ พลวิเศษ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร 9. อาจารย์อนุสรณ์ ถูสินแก่น คณบดีคณะครุศาสตร์
บรรณาธิการรองศาสตราจารย์ ดร.กฤษกนก ดวงชาทม คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ผู้ช่วยบรรณาธิการ 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชราภรณ์ พิมพ์จันทร์ รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ฝ่ายวิชาการ 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์ รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ฝ่ายบริหาร 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพงษ์ พระลับรักษา ผู้ช่วยคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ฝ่ายวิชาการ 4. อาจารย์ ดร.ปองภพ ภูจอมจิตร ผู้ช่วยคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ฝ่ายบริหาร ฝ่ายจัดการ 1. นางสาวขนิษฐา เสนาขันธ์ นักวิชาการศึกษา 2. นางสาวนิตยา มิ่งสูงเนิน ผู้ปฏิบัติงานบริหาร 3. นางสาวพิชญ์สินี จักณารายณ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 4. นายวัฒนากร ฉลาดบล นักวิชาการศึกษา 5. นางสาวศิริเพ็ญ จำปาศรี เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 6. นายเศรษฐา โพธิ์สีสม นักวิชาการคอมพิวเตอร์ 7. นายอิทธิพล โยธะชัย เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป CONTACT & VENUE
บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามชั้น 3 อาคารศูนย์กลางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น (อาคาร 41)
เลขที่ 80 ถ.นครสวรรค์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม 44000มือถือ. 089-712-8563
มือถือ. 094-614-5282
มือถือ. 086-219-7717
มือถือ. 087-636-1560ngrc@rmu.ac.th
ตรวจสอบบทความ/การลงทะเบียน
กรุณาเลือกเข้าตรวจสอบการส่งบทความ หรือ ลงทะเบียนให้ถูกต้อง